รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดชัฏใหญ่

ชื่อเรื่อง  รายงานผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดชัฏใหญ่

ผู้รายงาน  นายบุญช่วย  ความดี

ระยะเวลาดำเนินโครงการ  16  พฤษภาคม 2553  –  31  มีนาคม  2554 (ปีการศึกษา  2553)

 บทคัดย่อ

 การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดชัฏใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน ใน 4 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน จำนวน 22 กิจกรรม 3) เพื่อประเมินพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน รูปแบบของการประเมินโครงการ ใช้รูปแบบจำลอง CIPP  Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (Context)  ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 102 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน นักเรียน จำนวน 48 คน และผู้ปกครอง จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมิน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ฉบับที่ 2 แบบประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบประเมินผลการดำเนินกิจกรรม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ตอนที่ 2   แบบสรุปผลการดำเนินกิจกรรม จำนวน 22 กิจกรรม ฉบับที่ 3 แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และ ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดชัฏใหญ่ สรุปได้ ดังนี้

1.  การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนโรงเรียนวัดชัฏใหญ่  ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2.  การประเมินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน จำนวน  22  กิจกรรม โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งกิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด มีจำนวน 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนสีขาว กิจกรรมอิ่มอร่อยถูกหลักโภชนาการ กิจกรรมอาหารเสริม (นม) บำรุงสุขภาพ กิจกรรมจัดทำนโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน  กิจกรรมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) กิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อม กิจกรรมพัฒนาสุขาน่าใช้ และกิจกรรมบริการตรวจสุขภาพนักเรียน

3.  การประเมินพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด  มีจำนวน 4 ด้าน  ได้แก่  ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสารเสพติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี และล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย

4.  การประเมินความพึงพอใจของครู  ผู้ปกครอง  และนักเรียนที่มีต่อการบริหารจัดการโครงการและความพึงพอใจต่อผลผลิต (นักเรียน) มีความพึงพอใจที่สอดคล้องกันอยู่ในระดับมาก

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554

คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ สาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554

ดาวน์โหลดได้ที่นี่

คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาปฐมวัย (2-5 ปี) ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554

ดาวน์โหลดได้ที่นี่

ขอบพระคุณ เว็ปไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม นำข้อมูลมานำเสนอได้อย่างรวดเร็วครับ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

รายชื่อโรงเรียนประเมินปี2554-ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประกาศเรื่อง รายชื่อสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการประเมินคุณภาพภาย นอกรอบสาม ปีงบประมาณ 2554

ดาวน์โหลดที่นี่
ประกาศ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ประเภท .zip  ขนาดไฟล์ 9.24 Mb

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วันครู 2554

This slideshow requires JavaScript.

ผอ.บุญช่วย ความดี พร้อมคณะครู ร่วมกิจกรรมวันครู 2554

ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น วันครู และ การจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มี วันครู ขึ้นพร้อมกัน ทั่วประเทศ

ความหมายของครู

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศ ชาติ

ความสำคัญของครู

ใน ชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนีย บุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง

ประวัติความเป็นมา

วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

“ที่อยาก เสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้ง หลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูกับประชาชน

คณะ มนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือ เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วันวชิราวุธ

This slideshow requires JavaScript.

วันวชิราวุธ หมายถึง วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมนับอเนกอนันต์ไว้ในหลายสาขา

ความเป็นมา

เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครองกิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์เป็นต้น

ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ที่สำคัญคือพระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๕ และทางราชการได้กำหนดให้มีวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน วชิราวุธ และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์เดือนยี่ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เวลา ๘ นาฬิกา ๕๕ นาที ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง(สมเด็จพระนาง เจ้าเสาวภาผ่องศรี)ได้รับพระราชทานพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนีตรัสเรียก ลูกโต

เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดีให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็น ชั้นที่ ๒ รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารและได้มีพระราชพิธีโสกันต์ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๓๕

การศึกษา

ในขณะทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง พระอาจารย์ภาษาไทย คือ พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาอิศรพันธ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) และหม่อมเจ้าประภากร ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ส่วนภาษาอังกฤษทรงศึกษาจากนายโรเบิร์ต มอแลนต์ (Robert Morant) จนถึงพุทธศักราช ๒๔๓๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ มีผู้โดยเสด็จ ๔ ท่าน คือ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฐ์) พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) ม.ร.ว.สิทธิ สุทัศน์ (นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร) และพระมนตรีพจนกิจ (นามเดิมคือ ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ตามลำดับ

) ได้ทำหน้าที่พระอภิบาล และถวายพระอักษร

เมื่อเสด็จฯ ถึงประเทศอังกฤษแล้ว ได้ประทับที่ไบรตันราวเดือนเศษ แล้วจึงเสด็จไปประทับที่นอร์ธ ลอคจ์ (North Lodge) ตำบลแอสคอต (Ascot) การศึกษาในระยะนี้เป็นการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ณ ที่ประทับ เซอร์ เบซิล ทอมสัน (Sir Basil Thomson) ถวายความรู้เบื้องต้น

ระหว่างประทับอยู่ที่แอสคอตประเทศอังกฤษนั้นทางประเทศไทย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารได้สวรรคตเมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแทน

ได้มีการประกอบพระราชพิธีขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ (และที่สถานทูตไทยกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ ได้มีการส่งข้าราชบริพารไปประจำพระองค์ เฉลิมพระเกียรติตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร ๒ ท่าน คือ นายพันโท พระยาราชวัลลภานุสิษฐ์ (เจ้าพระยาราชศุภมิตร) พระตำรวจเอก สังกัดกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ กับนายร้อยเอก หลวงสรสิทธิ์ฯ (นายพลเอก พระยาเทพอรชุน จเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล ภายหลังเป็นเจ้าพระยาพิชเยนทร์โยธิน)

หลังจากนั้น ได้ทรงย้ายที่ประทับไปยังบ้านใหม่ชื่อเกรตนี (Graitney) ตำบลแคมเบอร์ลีย์ (Camberley) ใกล้ออลเดอร์ชอต (Aldershot) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ณ ที่นั้น นายพันโท ซี วี ฮูม (C.V.Hume) เป็นผู้ถวายการสอนวิชาการทหาร ส่วนวิชาพลเรือน ได้แก่ นายโอลิเวียร์ (Olivier) ครูชาวอังกฤษ และนายบูวิเยร์ (Bouvier) ชาวสวิสเป็นผู้ถวายการสอนภาษาฝรั่งเศส

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ (Sandhurst) และทรงย้ายที่ประทับไปอยู่ที่ฟริมลีย์ (Frimley Park) เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๔๑ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิสต์แล้วได้ทรงเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบา เดอรัม (Durham Light Infantry) ที่นอร์ธ แคมป์ (North Camp) ณ ออสเตอร์ชอต และได้เสด็จฯ ไปประจำหน่วยภูเขาที่ ๖ ค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ที่โอกแฮมป์ตัน (Okehampton) ต่อมาอีกหนึ่งเดือนได้เสด็จฯ ไปศึกษาที่โรงเรียนปืนเล็กยาวที่เมืองไฮยท (School of Musketry of Hythe) ได้รับประกาศนียบัตรพิเศษและเหรียญแม่นปืน

เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในด้านการทหารแล้ว ได้เสด็จฯ ไปทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์ เซิช (Christ Church) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ ถึง พุทธศักราช ๒๔๔๔ ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้นได้ทรงพระประชวรด้วยพระโรคพระอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมาก ต้องทรงรับการผ่าตัดทันที พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์เรื่อง The War of the Polish Cuccession (วิทยานิพนธ์นี้สำนักพิมพ์ B.H.Blackwell ปรเทศอังกฤษจัดพิมพ์ ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๑ ต่อมาได้มีผู้นำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) ราชเลขานุการในพระองค์ได้แปลเป็นภาษาไทยทูลเกล้าฯ ถวายและพิมพืเป็ฯครั้งแรกในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ เรียกชื่อหนังสือว่า สงครามสืบราชสมบัติโปลันด์) เสนอมหาวิทยาลัย

ในด้านที่เกี่ยวกับกิจกรรมของสโมสร พระองค์ท่านได้ทรงก่อตั้งสโมสรคอสโมโปลิตัน (Cosmopolitan Socitety) ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งชุมนุมนิสิต มีการบันเทิงด้วย การแลกเปลี่ยนกันอ่านคำตอบวิชาที่ศึกษาอยู่ นอกจากนี้ยังได้ทรงเข้าเป็นสมาชิกสโมสรบุลลิงตัน (Bullington Club) สโมสรคาร์ดินัล (Cardinal Club) และสโมสรการขี่ม้าอีกด้วย

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

ถึงแม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะมีระยะสั้นเพียง ๑๕ ปี เท่านั้นก็ตาม แต่ก็ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชนชาว ไทยหลายด้าน ซึ่งจะได้นำมากล่าวเพียงสังเขปเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

วันสุนทรภู่

This slideshow requires JavaScript.

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

บริษัท ในเครือ SCG Group

This slideshow requires JavaScript.

บริษัทในเครือ SCG Group
1.  บริษัทสยามซานิทารีแวร์อินดัสทรี (หนองแค) จำกัด  มอบโถส้วม ราดน้ำ  11  ชุด  (จ.สระบุรี)
2.  บริษัทสยามซานิทารีฟิตติ้งส์ จำกัด  มอบก๊อกเดี่ยวอ่างล้างหน้า  8  ชุด  (จ.ปทุมธานี)
โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

พัฒนาบุคลากร

This slideshow requires JavaScript.

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

กิจกรรมวันวิสาขบูชา

This slideshow requires JavaScript.

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น